เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

องค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังจะเห็นได้จาก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดขอบเขตและบทบาทหน้าที่ของรัฐในการจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ไว้ในหมวด 9 มาตรา 63–69 ครอบคลุม ทั้งการจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำ โครงสร้างพื้นฐานในการเผยแพร่รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และสื่อโทรคมนาคมอื่นๆ เพื่อนำมา ใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษา ให้มีการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตพัฒนาสื่อรูปแบบต่างๆ เพื่อการศึกษา ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้เรียน ให้มีทักษะในการผลิตและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (มาตรา 68) และจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผน ส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนา และการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (มาตรา 69)

สืบเนื่องจากมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : ซึ่งกำหนดว่า “ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน…” และเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ที่เน้นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” ขึ้นตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2553

วัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา : กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เป็นทุนหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิต การวิจัย การพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพทั่วประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและนอกกระทรวงศึกษาธิการ

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา : มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นรองประธานกรรมการ และรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ

การขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งสำนักงานเลขานุการกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (สกท.) ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2553

สืบเนื่องจากมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : ที่กำหนดว่า “จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผน ส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนา และการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” กระทรวงศึกษาธิการได้จัด Workshop การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จึงสามารถคาดหมายได้ว่า คงจะมีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของประเทศไทย ในอนาคตนี้อย่างแน่นอน (ซึ่งมีการยกร่างเตรียมการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (ทศช.) มาตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2542)

ทั้งนี้หากสถาบันสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เกิดขึ้นแล้วจะสามารถเป็นองค์กรหลักในการสร้างมาตรฐาน ระบบคัดกรอง รับรองคุณภาพสื่อแอพพลิเคชั่น หรือแอพพลิเคชั่นทางการศึกษาและเครื่องมือไอทีต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้เกิดการเข้าถึงแหล่งความรู้และข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด ก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาคนของประเทศได้เป็นอย่างดี

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ daviddrexlerlaw.com

Releated