ufabet

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of Knee)

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยในประเทศไทยพบผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมากกว่า 6 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 65 ปี ปัจจุบันข้อเข่าเสื่อมเป็น 1 ใน 10 โรคสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมมีสาเหตุมาจากการสึกหรอของผิวข้อเข่าเมื่อมีอายุมากขึ้น เมื่อรับน้ำหนักตัวมากเกินไปเป็นเวลาหลายปี เมื่อมีการใช้งานข้อเข่าอย่างหนักมาเป็นเวลานาน เมื่อมีการเกิดอุบัติเหตุ หรือติดเชื้อที่ทำลายผิวข้อเข่า สาเหตุทั้งหมดนี้ทำให้ผิวข้อเข่าส่วนที่เหลือทำงานหนักขึ้นจนเกิดการเสื่อมสภาพลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ใช้งานได้ลำบากมากขึ้น จนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงในที่สุด

ufabet

 อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณข้อเข่าเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดเวลาขึ้นหรือลงบันได เวลานั่งขัดสมาธิ พับเพียบ หรือนั่งยองเป็นเวลานาน ตอนลุกขึ้นยืนอาจมีอาการเข่าติดขัดต้องใช้เวลาตั้งหลักสักพักก่อนจะเริ่มออกเดิน บางรายมีเสียงในข้อเข่าหรือรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกในข้อเข่าในรายที่ใช้งานหนักเกินไป อาจมีอาการปวด บวม ตึงลงน้ำหนักไม่ได้ เป็นผลมาจากการอักเสบฉับพลันของเนื้อเยื่อในข้อเข่าที่มีการเสื่อมอยู่แล้วผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย มักจะมีข้อเข่าโก่งร่วมด้วย ทำให้การเดินยากลำบากมากขึ้น อาจต้องใช้ไม้เท้าในการช่วยเดิน

การวินิจฉัย  

มีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดเข่าที่เข้าได้กับโรคข้อเข่าเสื่อม
  • ภาพถ่ายรังสีพบกระดูกหินปูนบริเวณรอบๆข้อเข่า

มีข้อบ่งชี้ 1 ใน 3 ข้อดังต่อไปนี้

  1.  อายุเกิน 50 ปี
  2. มีอาการข้อเข่าติดขัดตอนเช้า (หลังตื่นนอน) ไม่เกิน 30 นาที
  3. มีเสียงในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว จากการเสียดสีของกระดูกในข้อเข่า

การรักษา

เป้าหมายในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม คือ การให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับตัวโรค ปรับวิธีการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน การลดปวด ชะลอความเสื่อม เพิ่มความสามารถในการใช้งาน ให้ผู้ป่วยยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และคงคุณภาพชีวิตที่ดีไว้ โดยแบ่งวิธีการรักษา ดังนี้

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรค
  • ปรับวิถีชีวิต เช่น เลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อยๆ เลี่ยงการคุกเข่า พับเพียบ นั่งยอง ขัดสมาธิ
  • ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ ได้แก่ การคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างเบา เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน การลดน้ำหนักลงร้อยละ 5 จะทำให้อาการปวดดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
  • บริหารกล้ามเนื้อต้นขา โดยการนั่งเก้าอี้ แล้วเหยียดขาตรงค้างไว้ข้างละ 10 วินาที อย่าง  น้อยวันละ 30 ครั้ง  
  • ใส่สนับเข่า ในผู้ป่วยที่เริ่มรู้สึกมีอาการข้อเข่าไม่มั่นคง
  • ไม้เท้า เพื่อช่วยพยุงผู้ป่วยที่เริ่มมีปัญหาในการเดิน

การรักษาโดยใช้ยา

  • ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ปลอดภัย และแก้ปวดได้ดี ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคตับ
  • ยาแก้อักเสบNSAIDs เป็นยาที่ลดการปวด การอักเสบได้ดีมาก ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไต และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • ยาแก้ปวดOpioids เป็นยาลดปวดที่ประสิทธิภาพสูง แต่มีผลข้างเคียงคือคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นยาลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ช่วยลดอาการปวดได้
  • ยาเพิ่มน้ำเลี้ยงข้อเข่า เป็นยาในกลุ่มGlucosamine Sulfate เพิ่มการสร้างน้ำเลี้ยงข้อเข่า  เนื่องจาก น้ำเลี้ยงข้อเข่าลดลงในผู้สูงอายุ ใช้ได้ในผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการข้อเข่าฝืดเคือง

กลุ่มยาฉีดข้อเข่า ได้แก่ น้ำเลี้ยงข้อเข่า เกล็ดเลือด มีคุณสมบัติเพิ่มการหล่อลื่นข้อเข่า ลดการอักเสบช่วยซ่อมแซมผิวข้อที่สึกหรอได้เล็กน้อย ใช้ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระยะ 2-3 (KL II-III ;    ยังมีผิวข้อหลงเหลืออยู่) และยาสเตียรอยด์มีคุณสมบัติลดการปวดจากการอักเสบได้ดีเยี่ยม ใช้ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระยะ 4 (KL IV ; ไม่มีผิวข้อหลงเหลือแล้ว)

การรักษาโดยการผ่าตัด

  • ผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีผิวข้อหลุดร่อน และขวางการทำงานของข้อเข่า   ส่วนใหญ่ได้ผลดีเฉพาะผู้ป่วยระยะแรก (KL I)
  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นวิธีรักษาที่นิยมที่สุด ได้ประสิทธิภาพที่สุด โดยสามารถลด   อาการปวด ฟื้นฟูสภาพการใช้งานให้กลับมาดีดังเดิม และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นเป็นปกติ

ปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีเทคโนโลยี และองค์ความรู้ที่พัฒนามากขึ้นทั้งใน   ส่วนของวิธีการระงับปวดโดยวิสัญญีแพทย์(Selective nerve block) วิธีการผ่าตัดที่เลี่ยงการตัดเส้นเอ็นกล้ามเนื้อต้นขา (Quadriceps sparing approach) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดเพื่อเพิ่มความแม่นยำ(Computer-assisted surgery) อุปกรณ์ข้อเข่าเทียมที่ไม่ตัดเส้นเอ็นไขว้หลัง(CR design)  และมีหมอนข้อเทียมที่เคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติตามการเหยียดงอเข่า(Mobile bearing) รวมถึงการให้ยาระงับปวดหลังผ่าตัดแบบ Multimodal analgesia ซึ่งได้ประสิทธิภาพในการลดปวดได้ดี  ผลข้างเคียงน้อยจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว สามารถทำกายภาพฟื้นฟูข้อเข่าเทียมหลังผ่าตัดได้ทันที และกลับบ้านเพื่อไปฟื้นฟูต่อได้เร็วขึ้น

โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนมีทีมศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ทีมวิสัญญีแพทย์ที่สามารถทำการระงับปวดแบบใหม่ในช่วงผ่าตัด รวมถึงก่อนและหลังการผ่าตัด ทีมพยาบาล ที่ฝึกอบรมมาเพื่อดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าโดยเฉพาะ นอกจากนี้เรายังมีทีมกายภาพบำบัดที่จะเข้ามาทำการฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อเข่าทันทีที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเสร็จสิ้น โดยทุกทีมมีเป้าหมายร่วมกันกัน คือ

ufabet

       “ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม : แผลเล็ก ฟื้นตัวไว คนไข้ประทับใจ ไร้อาการปวด” 

 การฟื้นฟูหลังการผ่าตัด 

          ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะสามารถเหยียดงอเข่าได้ทันทีที่ฤทธิ์ของยาชาบล็อกหลังหมด โดยจะให้ฝึกกระดกข้อเท้า และเหยียดงอเข่า ในวันถัดมาช่วงเช้าจะให้ผู้ป่วยนั่งข้างเตียงฝึกการเหยียดงอเข่าเพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อต้นขา ในช่วงบ่ายจะให้ผู้ป่วยฝึกยืน ฝึกเดินด้วยwalker และฝึกนั่ง วันถัดไปจะให้ผู้ป่วยฝึกเดินจนคล่อง สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นได้ เช่นการเดินเข้าห้องน้ำ นั่งโถส้วม จนมีความมั่นใจในการใช้งาน แพทย์เจ้าของไข้ก็จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้

ในช่วง 1 เดือนแรกจะแนะนำให้ผู้ป่วยยังใช้walkerในการช่วยเดินตลอด เนื่องจากต้องให้กล้ามเนื้อต้นขาปรับสภาพตามข้อเข่าที่กลับมาตรงเป็นปกติ ในเดือนที่ 2 และ 3 ผู้ป่วยสามารถปล่อยจากwalkerแล้วใช้เป็นไม้เท้าสามขา (Tripods) เพื่อช่วยพยุงตอนเดินได้ หลังจาก 3 เดือนไปแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถใช้งานข้อเข่าได้เป็นปกติ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึง บวมบริเวณข้อเข่าตามการใช้งานได้ในช่วง 3 เดือนแรก เมื่อพัก นอนยกขาสูง อาการปวดบวมตึงจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อรอบข้อเข่าใช้เวลาในการปรับตัวเป็นเวลา 3 เดือน แต่หากผู้ป่วยมีไข้ร่วมกับอาการอักเสบ แดง ร้อน ปวดตลอดเวลาแม้จะพักการใช้งาน ควรมาพบแพทย์ก่อนนัดเพื่อวินิจฉัยแยกโรคออกจากภาวะติดเชื้อในข้อเข่าเทียม ซึ่งพบได้ร้อยละ 1-2

ข้อเข่าเทียมในปัจจุบันมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 15-20 ปี ถ้าไม่มีการติดเชื้อ โดยผู้ป่วยสามารถชะลอการเสื่อมของข้อเทียมได้โดยเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อย เลี่ยงการนั่งคุกเข่า พับเพียบ นั่งยอง ขัดสมาธิ เลี่ยงการยกของหนัก ดูแลสุขภาพเลี่ยงการป่วยไข้เป็นหวัดเพราะอาจจะเพิ่มโอกาสติดเชื้อ เลี่ยงการทานยาสมุนไพร ยาลูกกลอม ยาหม้อการออกกำลังกาย  สามารถทำได้ทุกประเภทที่ไม่มีการกระแทกของข้อเข่า โดยกีฬาที่แนะนำมีดังนี้ เดินออกกำลังกาย ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ตีกอล์ฟ เป็นต้น

ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ daviddrexlerlaw.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated